สวัสดีค่ะ

ศิมาพร เพ็งสาเกษ สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยินดีต้อนรับนะค่ะ ^_^

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาการตัดกระดาษ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2

1. ปัญหา เด็กขาดทักษะการตัดกระดาษ

2. ลักษณะและอาการ


       2.1 ตัดกระดาษไม่ขาดออกจากกัน

       2.2 ตัดกระดาษตามแนวเส้นได้แต่มีรอยหยัก

       2.3 จับกรรไกรเพื่อตัดกระดาษ โดยใช้มืออีกข้างช่วยดึงให้กระดาษแยกออกจากกัน

       2.4 บอกหรือเล่าสิ่งที่ตัดให้ผู้อื่นเข้าใจไม่ได้
 3. แนวทางแก้ไข


       3.1 ฝึกการร้อยรูปทรงเรขาคณิต ลูกปัด หลอดดูด ชุดแต่งตัว ฯลฯ

       3.2 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษ

       3.3 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษอย่างอิสระ

       3.4 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษให้เป็นริ้ว

       3.5 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษเป็นรูปทรงเรขาคณิต

       3.6 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษเป็นรูปตามต้องการ

       3.7 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษเป็นเรื่องราว

       3.8 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษตามรูปภาพ
 4. นวัตกรรม


       4.1 เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัดกระดาษ

       4.2 แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์

       4.3 สื่อประการฝึกได้แก่ รูปทรงเรขาคณิต ลูกปัดสีต่าง ๆ หลอดดูด ชุดแต่งตัว กระดาษสีต่าง ๆ กรรไกรปลายมน
 5. วัตถุประสงค์


       5.1 เพื่อให้เด็กตัดกระดาษได้เรียบขาดได้ ไม่มีรอยฉีกขาด รอยย่นของกระดาษ

       5.2 เพื่อให้เด็กมีสมาธิ ฝึกประสาทระหว่างมือกับตาและฝึกการใช้มือ ซึ่งช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้ดี

       5.3 เพื่อให้เด็กบอกหรือเล่า ตลอดจนปะติดภาพที่ตัด ให้ผู้อื่นเข้าใจได้


6. ลักษณะ / ส่วนประกอบของนวัตกรรม


       นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเป็นกิจกรรมการฝึกทักษะ การตัดและสื่อประกอบ การฝึกชุดการตัดกระดาษ ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

       6.1 เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัดกระดาษ เป็นเอกสารในการจัดประสบการณ์

           กิจกรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล คำชี้แจง วัตถุประสงค์ เวลา วิธีการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ การฝึกทักษะการตัด


     กิจกรรมแบฝึกทักษะ

         กิจกรรมที่ 1 แบบฝึกการเตรียมความพร้อมและการรู้จักกรรไกร จำนวน 2 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 2 แบบฝึกการตัดมุมกระดาษ จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 3 แบบฝึกการตัดกิจกรรมแบบอิสระ จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 4 แบบฝึกการตัดกระดาษให้เป็นริ้ว จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 5 แบบฝึกการตัดกระดาษเป็นรูปทรงเรขาคณิต จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 6 แบบฝึกการตัดกระดาษเป็นรูปตามต้องการ จำนวน 3 กิจกรรม

         กจกรรมที่ 7 แบบฝึกการตัดกระดาษเป็นเรื่องราว จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 8 แบบฝึกการตัดกระดาษตามรูปภาพ จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 9 แบบฝึกทักษะการตัดกระดาษตามความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 3 กิจกรรม

       6.2 แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระสำคัญ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล บันทึกผลหลังสอน

       6.3 สื่อประกอบการฝึก ได้แก่ กระดาษสีต่าง ๆ ลูกปัด รูปทรงเรขาคณิต หลอดดูด ชุดแต่งตัว
 7. หลักการและแนวคิด


       7.1 ใช้หลักการสอนของ เพีย เจท์ คือ จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัว ไปสู่เรื่องไกลตัวและมีลักษณะเป็นรูปธรรม

       7.2 ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนด้วยของจริง เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัด และการชี้แนะ

       7.3 ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ ของ ธอรน์ ไดน์ ได้แก่ กฎการฝึกหัดกล่าวคือ การฝึกบ่อยๆจะทำให้เด็กเกิดทักษะ

       7.4 ใช้กระบวนการปฏิบัติในการจัดกิจกรรม 4 ขั้น คือ

             7.4.1. ขั้นสังเกต รับรู้

             7.4.2. ขั้นทำตามแบบ

             7.4.3 ขั้นทำเองโดยไม่มีแบบ

             7.4.4 ขั้นฝึกให้ชำนาญ
 8. วิธีการดำเนินการ


       8.1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาล ปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนเสาขวัญ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 23 คน

       8.2 ตัวแปรที่ศึกษา

             8.2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัดกระดาษ

แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์ ของจริง ได้แก่ ลูกปัด รูปทรงเรขาคณิต กระดาษสี ฯลฯ

             8.2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการตัดกระดาษของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2

      8.3 วิธีการนำไปใช้

ใช้นวัตกรรมในการฝึก 3 เดือน โดยมีวิธีการ ดังนี้

            8.3.1 ทดลองใช้เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัดกระดาษ ชั้นอนุบาลปีที่ 2

            8.3.2 แบบฝึกกิจกรรม แผ่นแรกและแผ่นสุดท้ายเป็นรายบุคคล

            8.3.3 ประเมินผลพัฒนาการของเด็กตามแบบสังเกต ความสนใจ และตารางบันทึกระดับพัฒนาการการตัดกระดาษ

      8.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

            8.4.1 ข้อมูลที่เก็บ ได้แก่ พฤติกรรมการตัดกระดาษของเด็ก ซึ่งดูได้จาก การจับกรรไกร การทำกิจกรรม แผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมสร้างกรรม ของจริง เช่น การร้อยรูปทรงเรขาคณิต การร้อยหลอดดูด การร้อยลูกปัด

            8.4.2 วิธีการใช้ ได้แก่ การสังเกต การสะสมผลงาน

            8.4.3 เครื่องมือที่ใช้แบบสังเกต ตารางแบบบันทึกระดับพัฒนาการการตัดกระดาษของเด็ก  
       8.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

            8.5.1 เปรียบเทียบระดับความสามารถในการตัดก่อนและหลังการฝึก

            8.5.2 วิเคราะห์ระดับพัฒนาการการตัดกระดาษของเด็ก
       8.6 สถิติที่ใช้
ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่ามัชฌิมาเลขคณิต (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

       8.7 เกณฑ์คุณภาพ/ความสำเร็จ

            8.7.1 ระดับความสามารถในการตัดหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึก

            8.7.2 ระดับพัฒนาการในการตัดของนักเรียนสูงขึ้นก่อนฝึกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น