สวัสดีค่ะ

ศิมาพร เพ็งสาเกษ สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยินดีต้อนรับนะค่ะ ^_^

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาการตัดกระดาษ สำหรับชั้นอนุบาลปีที่ 2

1. ปัญหา เด็กขาดทักษะการตัดกระดาษ

2. ลักษณะและอาการ


       2.1 ตัดกระดาษไม่ขาดออกจากกัน

       2.2 ตัดกระดาษตามแนวเส้นได้แต่มีรอยหยัก

       2.3 จับกรรไกรเพื่อตัดกระดาษ โดยใช้มืออีกข้างช่วยดึงให้กระดาษแยกออกจากกัน

       2.4 บอกหรือเล่าสิ่งที่ตัดให้ผู้อื่นเข้าใจไม่ได้
 3. แนวทางแก้ไข


       3.1 ฝึกการร้อยรูปทรงเรขาคณิต ลูกปัด หลอดดูด ชุดแต่งตัว ฯลฯ

       3.2 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษ

       3.3 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษอย่างอิสระ

       3.4 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษให้เป็นริ้ว

       3.5 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษเป็นรูปทรงเรขาคณิต

       3.6 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษเป็นรูปตามต้องการ

       3.7 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษเป็นเรื่องราว

       3.8 กิจกรรมแบบฝึกทักษะการตัดกระดาษตามรูปภาพ
 4. นวัตกรรม


       4.1 เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัดกระดาษ

       4.2 แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์

       4.3 สื่อประการฝึกได้แก่ รูปทรงเรขาคณิต ลูกปัดสีต่าง ๆ หลอดดูด ชุดแต่งตัว กระดาษสีต่าง ๆ กรรไกรปลายมน
 5. วัตถุประสงค์


       5.1 เพื่อให้เด็กตัดกระดาษได้เรียบขาดได้ ไม่มีรอยฉีกขาด รอยย่นของกระดาษ

       5.2 เพื่อให้เด็กมีสมาธิ ฝึกประสาทระหว่างมือกับตาและฝึกการใช้มือ ซึ่งช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้ดี

       5.3 เพื่อให้เด็กบอกหรือเล่า ตลอดจนปะติดภาพที่ตัด ให้ผู้อื่นเข้าใจได้


6. ลักษณะ / ส่วนประกอบของนวัตกรรม


       นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเป็นกิจกรรมการฝึกทักษะ การตัดและสื่อประกอบ การฝึกชุดการตัดกระดาษ ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

       6.1 เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัดกระดาษ เป็นเอกสารในการจัดประสบการณ์

           กิจกรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล คำชี้แจง วัตถุประสงค์ เวลา วิธีการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ การฝึกทักษะการตัด


     กิจกรรมแบฝึกทักษะ

         กิจกรรมที่ 1 แบบฝึกการเตรียมความพร้อมและการรู้จักกรรไกร จำนวน 2 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 2 แบบฝึกการตัดมุมกระดาษ จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 3 แบบฝึกการตัดกิจกรรมแบบอิสระ จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 4 แบบฝึกการตัดกระดาษให้เป็นริ้ว จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 5 แบบฝึกการตัดกระดาษเป็นรูปทรงเรขาคณิต จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 6 แบบฝึกการตัดกระดาษเป็นรูปตามต้องการ จำนวน 3 กิจกรรม

         กจกรรมที่ 7 แบบฝึกการตัดกระดาษเป็นเรื่องราว จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 8 แบบฝึกการตัดกระดาษตามรูปภาพ จำนวน 3 กิจกรรม

         กิจกรรมที่ 9 แบบฝึกทักษะการตัดกระดาษตามความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 3 กิจกรรม

       6.2 แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้ สาระสำคัญ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล บันทึกผลหลังสอน

       6.3 สื่อประกอบการฝึก ได้แก่ กระดาษสีต่าง ๆ ลูกปัด รูปทรงเรขาคณิต หลอดดูด ชุดแต่งตัว
 7. หลักการและแนวคิด


       7.1 ใช้หลักการสอนของ เพีย เจท์ คือ จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัว ไปสู่เรื่องไกลตัวและมีลักษณะเป็นรูปธรรม

       7.2 ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนด้วยของจริง เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัด และการชี้แนะ

       7.3 ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ ของ ธอรน์ ไดน์ ได้แก่ กฎการฝึกหัดกล่าวคือ การฝึกบ่อยๆจะทำให้เด็กเกิดทักษะ

       7.4 ใช้กระบวนการปฏิบัติในการจัดกิจกรรม 4 ขั้น คือ

             7.4.1. ขั้นสังเกต รับรู้

             7.4.2. ขั้นทำตามแบบ

             7.4.3 ขั้นทำเองโดยไม่มีแบบ

             7.4.4 ขั้นฝึกให้ชำนาญ
 8. วิธีการดำเนินการ


       8.1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาล ปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนเสาขวัญ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 23 คน

       8.2 ตัวแปรที่ศึกษา

             8.2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัดกระดาษ

แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมสร้างสรรค์ ของจริง ได้แก่ ลูกปัด รูปทรงเรขาคณิต กระดาษสี ฯลฯ

             8.2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการตัดกระดาษของเด็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 2

      8.3 วิธีการนำไปใช้

ใช้นวัตกรรมในการฝึก 3 เดือน โดยมีวิธีการ ดังนี้

            8.3.1 ทดลองใช้เอกสารประกอบการพัฒนาทักษะการตัดกระดาษ ชั้นอนุบาลปีที่ 2

            8.3.2 แบบฝึกกิจกรรม แผ่นแรกและแผ่นสุดท้ายเป็นรายบุคคล

            8.3.3 ประเมินผลพัฒนาการของเด็กตามแบบสังเกต ความสนใจ และตารางบันทึกระดับพัฒนาการการตัดกระดาษ

      8.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

            8.4.1 ข้อมูลที่เก็บ ได้แก่ พฤติกรรมการตัดกระดาษของเด็ก ซึ่งดูได้จาก การจับกรรไกร การทำกิจกรรม แผนการจัดประสบการณ์ กิจกรรมสร้างกรรม ของจริง เช่น การร้อยรูปทรงเรขาคณิต การร้อยหลอดดูด การร้อยลูกปัด

            8.4.2 วิธีการใช้ ได้แก่ การสังเกต การสะสมผลงาน

            8.4.3 เครื่องมือที่ใช้แบบสังเกต ตารางแบบบันทึกระดับพัฒนาการการตัดกระดาษของเด็ก  
       8.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

            8.5.1 เปรียบเทียบระดับความสามารถในการตัดก่อนและหลังการฝึก

            8.5.2 วิเคราะห์ระดับพัฒนาการการตัดกระดาษของเด็ก
       8.6 สถิติที่ใช้
ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่ามัชฌิมาเลขคณิต (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

       8.7 เกณฑ์คุณภาพ/ความสำเร็จ

            8.7.1 ระดับความสามารถในการตัดหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึก

            8.7.2 ระดับพัฒนาการในการตัดของนักเรียนสูงขึ้นก่อนฝึกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80


วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาการเรียนการสอนระดับปฐมวัย

1. หลักการและเหตุผล
          การเรียนการสอนระดับปฐมวัย     เป็นการเตรียมความพร้อมเด็กอายุระหว่าง   3-5  ปีเพื่อให้เด็กมีความพร้อมทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์-จิตใจ  สังคมและด้านสติปัญญา       และให้เด็กมีความพร้อมทางทักษะต่าง ๆ   พร้อมที่จะเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป   ฉะนั้นครูผู้สอนในระดับปฐมวัยจะต้องมีการพัฒนาตนเอง    ให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการจัดประสบการณ์        ให้กับเด็กให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก  ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคม วัฒนธรรมเด็กที่อาศัยอยู่ ความรัก ความเอื้ออาทร  และความเข้าใจของคนทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิต  ให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม  โดยนำแผนการจัดประสบการณ์มาปรับปรุง  พัฒนาอย่างต่อเนื่อง    เพื่อให้เด็กมีความพร้อมทุกด้าน   ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจด้านสังคม   และด้านสติปัญญา  ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการเรียนการสอนระดับปฐมวัยขึ้น
2. ความหมายและขอบข่าย
        การเรียนการสอนระดับปฐมวัย  หมายถึง  การพัฒนาการเรียนการสอนระดับปฐมวัยของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล      อันจะส่งผลให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
        ขอบข่าย หมายถึง  การจัดทำโครงการพัฒนาการเรียนการสอน      ในระดับปฐมวัยของโรงเรียนมีกิจกรรมหลักในการดำเนินโครงการดังนี้
            2.1  กิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย
            2.2  กิจกรรมเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้     เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
3. วัตถุประสงค์
       3.1 ผลลัพธ์
            3.1.1  เด็กมีคุณธรรม   จริยธรรมและค่านิยมที่พึ่งประสงค์
            3.1.2  เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
             3.1.3  เด็กสามารถทำงานจนสำเร็จ  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต
             3.1.4  เด็กมีความคิดรวบยอด   คิดแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์
             3.1.5  เด็กมีความรู้และทักษะเบื้องต้น
             3.1.6  เด็กสนใจใฝ่รู้ รักการอ่านและพัฒนาตนเอง
             3.1.7  เด็กมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
             3.1.8  เด็กมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยที่ดีด้านศิลปะ  ดนตรีและการเคลื่อนไหว
             3.1.9  เด็กที่จบการศึกษาระดับปฐมวัย มีความรู้ประสบการณ์ที่เหมาะสมมีความพร้อมที่จะเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
             3.1.10  เด็กได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆในการพัฒนาตนเอง
     3.2  ผลผลิต
            3.2.1  โรงเรียนมีการพัฒนาการเรียนการสอน   ในระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
            3.2.2  โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้แก่ชุมชน    เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่แก่หน่วยงานอื่นๆ ด้วย
4. กิจกรรมและการดำเนินการ
ที่
กิจกรรม
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
1
ศึกษาข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อศึกษาพัฒนาการของเด็กด้านต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
มีนาคม

2
จัดทำแผนการจัดประสบการณ์    ในการจัดกิจกรรมการประสบการณ์ให้ครบทุกหน่วยการเรียนรู้ทั้งปี
มีนาคม

3
จัดหา  จัดทำสื่อ อุปกรณ์   ที่จำนำมาใช้ในการจัดประสบการณ์  ให้กับเด็ก
ตลอดปีการศึกษา

4
ดำเนินการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เด็กมีความรู้และประสบการณ์มีความพร้อม  ที่จะเรียนในระดับประถมศึกษา
ตลอดปีการศึกษา

5
กำกับ  ติดตามประเมินผล   การศึกษาของเด็กร่วมกับผู้ปกครองในการประเมินผลตามสภาพจริง             อย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก
ตลอดปีการศึกษา

6
จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้  ให้แก่ชุมชน               และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ตลอดปีการศึกษา


5. งบประมาณที่ใช้
        จำนวนเงิน                           บาท
            5.1  ค่าวัสดุ                      บาท
            5.2  ค่าใช้สอย                  บาท
6.  การประเมินผล
ตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
ผลลัพธ์
1.  เด็กที่จะเรียนในระดับปฐมวัยของโรงเรียน   จะต้องมีความพร้อมทุกด้าน  ทั้งด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์ จิตใจ  ด้านสังคม    และด้านสติปัญญา
 2.  เด็กที่จบการศึกษาระดับปฐมวัย ความรู้   และมีประสบการณ์ มีความพร้อมที่จะเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
 

1. ตรวจการประเมินผลการจัดประสบการณ์

2. ตรวจผลงานเด็ก

1. แผนการจัดประสบการณ์

2. แฟ้มสะสมผลงาน
ผลผลิต
1. โรงเรียนมีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเด็กระดับปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง



2.  โรงเรียนเป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้ให้แก่ชมชน         และหน่วยงานอื่น ๆ

1. ตรวจการประเมินผลการพัฒนาการเด็ก



2. ตรวจบันทึกการเผยแพร่ความรู้

1. แผนการจัดประสบการณ์
2. แบบบันทึกข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล
1.แบบบันทึกการเผยแพร่ความรู้

7. ผลคาดว่าจะได้รับ
         7.1.1   เด็กมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึ่งประสงค์
         7.12   เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
         7.1.3  เด็กสามารถทำงานจนสำเร็จ  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต
         7.1.4  เด็กมีความคิดรวบยอดคิดแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์
         7.1.5  เด็กมีความรู้และทักษะเบื้อต้น
         7.1.6  เด็กสนใจใฝ่รู้ รักการอ่านและพัฒนาตนเอง
          7.1.7  เด็กมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
          7.1.8  เด็กมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยที่ดีด้านศิลปะ  ดนตรีและการเคลื่อนไหว
          7.1.9  เด็กทีจบการศึกษาระดับปฐมวัย มีความรู้ประสบการณ์ที่เหมาะสม   พร้อมที่จะเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
          7.1.9  เด็กได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้   กิจกรรมประสบการณ์ต่าง ๆในการพัฒนาตนเอ